กลับมาอีกครั้ง คปภ. จัดใหญ่สัมมนาวิชาการประกันภัยครั้งที่ 6 ประจำปี 2562

กลับมาอีกครั้ง คปภ. จัดใหญ่สัมมนาวิชาการประกันภัยครั้งที่ 6 ประจำปี 2562


กลับมาอีกครั้ง คปภ. จัดใหญ่สัมมนาวิชาการประกันภัยครั้งที่ 6 ประจำปี 2562 (Thailand Insurance Symposium 2019) เปิดเวทีแลกเปลี่ยนความคิด
และประสบการณ์ด้านการนำนวัตกรรมประกันภัยใหม่มาปรับใช้ในเชิงปฏิบัติ
·       ภายใต้ธีมงาน “การนำเทคโนโลยีด้านการประกันภัยมาใช้ในเชิงรุก เพื่อสร้างความยั่งยืนให้กับธุรกิจประกันภัย” (Proactive InsurTech for National Sustainability)

ดร.สุทธิพล ทวีชัยการ เลขาธิการ คปภ. เปิดเผยว่า การจัดงาน Thailand Insurance Symposium 2019 ครั้งนี้ถือเป็นเวทีเปิดกว้างและสนับสนุนการแลกเปลี่ยนมุมมองจากผู้เชี่ยวชาญด้านประกันภัยและด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในการเสริมสร้างความรู้ด้านการประกันภัย การพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อประยุกต์ใช้กับธุรกิจประกันภัยในยุคดิจิทัลอย่างมีประสิทธิภาพ และการสร้างโอกาสทางพันธมิตรเพื่อให้เกิดความร่วมมือกันทั้งในภาคส่วนธุรกิจประกันภัยและธุรกิจเทคโนโลยีสารสนเทศ ซึ่งส่งผลให้ธุรกิจประกันภัยเติบโตในตลาดการเงินของประเทศไทย และในขณะเดียวกันประชาชนผู้บริโภคก็ได้รับประโยชน์ไปพร้อมกัน
ในงานสัมมนาครั้งนี้ เลขาธิการ คปภ. ได้ปาฐกถาพิเศษในหัวข้อ “Proactive InsurTech for National Sustainability” โดยกล่าวในตอนหนึ่งว่าสำหรับปี 2562 สำนักงาน คปภ. ได้กำหนดทิศทางนโยบายการดำเนินงานให้เป็น “ปีแห่งการพัฒนาและส่งเสริมอุตสาหกรรมประกันภัยให้ก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลง” ซึ่งแนวคิดในการจัดงานสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัยในปีนี้จึงสอดคล้องกับการดำเนินงานและการขับเคลื่อนนโยบายในเชิงรุกของสำนักงาน คปภ. เพื่อเพิ่มศักยภาพของธุรกิจประกันภัย โดยมุ่งเน้นสนับสนุนงานวิชาการ งานวิจัยและการนำระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมาประยุกต์ใช้ในการขับเคลื่อนเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการบริหารจัดการ สร้างความรู้ความเข้าใจและความเชื่อมั่นของประชาชนที่มีต่อธุรกิจประกันภัยใน 4 มิติหลัก ประกอบด้วย
มิติแรกคือการเพิ่มศักยภาพอุตสาหกรรมประกันภัย ด้วยการนำระบบสารสนเทศเข้ามาใช้ลดต้นทุนการประกอบธุรกิจประกันภัย ทั้ง 4 ด้าน ได้แก่ 1) ด้านการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์และบริการประกันภัย 2) ด้านการขาย 3) ด้านการพิจารณารับประกันภัย 4) ด้านการจัดการค่าสินไหม โดยในช่วงที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการอย่างเป็นรูปธรรมแล้วหลากหลายส่วน อาทิ การจัดตั้ง Center of InsurTech, Thailand (CIT) ซึ่งเป็นศูนย์รวมข้อมูลกลาง แลกเปลี่ยนความรู้ด้านเทคโนโลยีประกันภัยเพื่อก่อให้เกิดการพัฒนาอุตสาหกรรมประกันภัย การยกระดับมาตรฐานการดำเนินการของภาคธุรกิจประกันภัยแบบองค์รวมผ่านการนำเทคโนโลยีทั้ง RegTech และ SupTech มาใช้ในการกำกับดูแล และส่งเสริมให้เกิดผลิตภัณฑ์ประกันภัยแบบใหม่ๆ การบริหารความเสี่ยงเชิงบูรณาการด้วย Own Risk and Solvency Assessment และการจัดทำแนวทางปฏิบัติด้านการบริหารความเสี่ยงด้านระบบสารสนเทศ การยกระดับพฤติกรรมทางตลาดของคนกลางประกันภัยผ่านประกาศ คปภ. เรื่อง การเสนอขายกรมธรรม์ประกันภัย ให้ครอบคลุมทุกช่องทางการขาย และล่าสุด เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สำนักงาน คปภ. ได้มีการเปิดตัว Application “Me Claim” ที่เชื่อมต่อกับ Application “Police i Lert u” ของสำนักงานตำรวจแห่งชาติ ด้วยสโลแกน คลิ๊กเดียว-ฉับไว-อุ่นใจ-ประกันมา ซึ่งเปิดใช้งานอย่างเป็นทางการแล้วเมื่อวันที่ 9 เมษายน 2562 ที่ผ่านมา
มิติที่สองคือการเสริมสร้างความรู้และการเข้าถึงการประกันภัย ผ่านการพัฒนาช่องทางการสื่อสารต่างๆ ของสำนักงาน คปภ. ให้เข้าถึงประชาชนในวงกว้างมากขึ้น ด้วยการให้ความรู้เชิงรุกผ่านโครงการ คปภ. เพื่อชุมชน การพัฒนาผลิตภัณฑ์ประกันภัยที่สอดคล้องกับความต้องการและความเสี่ยง โดยเฉพาะกลุ่มฐานราก ให้สามารถเข้าถึงและนำระบบประกันภัยมาใช้เป็นเครื่องมือในการบริหารความเสี่ยงภัยโดยเฉพาะการประกันภัยพืชผลทางการเกษตร สำนักงาน คปภ. ได้ดำเนินการปรับปรุงกรมธรรม์ประกันภัยข้าวนาปี และจัดทำกรมธรรม์ประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 และดำเนินการสร้างความรู้ความเข้าใจ ตลอดจนดำเนินโครงการอบรมความรู้ประกันภัย (Training for the Trainers) เชิงรุกร่วมกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง โดยมีบริษัทประกันภัยที่เข้าร่วมโครงการประกันภัยข้าวนาปี ปีการผลิต 2562 และโครงการประกันภัยข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ปีการผลิต 2562 จำนวน 24 บริษัท และได้รับความร่วมมือจาก สำนักงานเศรษฐกิจการคลัง กรมส่งเสริมการเกษตร กรมการปกครอง กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย กรมส่งเสริมการปกครองส่วนท้องถิ่น กรมประชาสัมพันธ์ กรมการข้าว กรมส่งเสริมสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสมาคมประกันวินาศภัยไทย
มิติที่สามคือการสร้างสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการแข่งขัน ผ่านการส่งเสริมให้เกิดการเชื่อมโยงตลาดประกันภัยในภูมิภาคอาเซียนผ่านการจัดทำหลักสูตรและความร่วมมือระหว่างประเทศ ซึ่งสำนักงาน คปภ. ได้มีการลงนามความตกลง MOU กับประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา สปป. ลาว และกัมพูชา และมีการจัดตั้งโครงการทดสอบนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาสนับสนุนการให้บริการสำหรับธุรกิจประกันภัย (Insurance Regulatory Sandbox) เพื่อเปิดโอกาสให้บริษัทประกันภัย นายหน้าประกันภัยนิติบุคคล หรือ FinTech Firms ที่ร่วมกับบริษัทประกันภัยหรือนายหน้าประกันภัยนิติบุคคล สามารถนำนวัตกรรมที่นำเทคโนโลยีมาใช้เพื่อช่วยเพิ่มประสิทธิภาพและ/หรือลดต้นทุนในการประกอบธุรกิจ มาทดลองประกอบธุรกรรมภายใต้ขอบเขตการกำกับดูแลของ สำนักงาน คปภ.สำนักงานคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (สำนักงาน คปภ.) โดย สถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง เปิดเวทีระดมความรู้ในงานประชุมสัมมนาวิชาการด้านการประกันภัย ครั้งที่ 6 ประจำปี พ.ศ. 2562 (Thailand Insurance Symposium 2019) ภายใต้แนวคิด “Proactive InsurTech for National Sustainability” เพื่อส่งเสริมและพัฒนาองค์ความรู้ด้านการประกันภัย ให้กับบุคลากรประกันภัย หน่วยงานภาครัฐ หน่วยงานภาคเอกชน และภาคประชาชน ได้ตระหนักถึงความสำคัญของการประกันภัย และเพื่อพัฒนาเทคโนโลยีด้านการประกันภัยมาเชื่อมโอกาสธุรกิจประกันภัยในยุคดิจิทัล โดยมีผู้เข้าร่วมสัมมนากว่า 400 คน เมื่อวันที่ 23 เมษายน 2562 ณ ห้องบอลรูม 2-3 โรงแรม คอนราด  
มิติสุดท้ายคือการเสริมสร้างโครงสร้างพื้นฐานด้านการประกันภัย ด้วยการพัฒนาและยกระดับบุคลากรประกันภัยผ่านสถาบันวิทยาการประกันภัยระดับสูง ซึ่งเป็นหน่วยงานหนึ่งของสำนักงาน คปภ. ที่ทำหน้าที่เป็นศูนย์กลางการฝึกอบรมและพัฒนาบุคลากรด้านประกันภัยระดับสูงของประเทศ ทั้งด้านความรู้ จริยธรรม และเพิ่มทักษะด้านการประกันภัยระดับสูงให้แก่บุคลากรประกันภัยทุกฝ่าย รวมทั้งเป็นศูนย์กลางด้านวิชาการประกันภัย เพื่อให้บุคลากรประกันภัยและประชาชนทั่วไปสามารถใช้ประโยชน์เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ ค้นคว้าข้อมูลด้านการประกันภัย นอกจากนี้ สำนักงาน คปภ. โดยสถาบันวิทยาประกันภัยระดับสูงยังมีนโยบายส่งเสริมด้านการวิจัย เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาและยกระดับมาตรฐานอุตสาหกรรมประกันภัยให้ดียิ่งขึ้น โดยมีรูปแบบการสนับสนุนเช่น การให้ทุนวิจัยที่เกี่ยวข้องกับธุรกิจประกันภัยแก่ผู้สนใจทั้งในและต่างประเทศ ซึ่งรวมถึงผู้เชี่ยวชาญ หรือ Regulator ที่อยู่ในกลุ่มประเทศ CLMV อีกด้วย  
“สำนักงาน คปภ. ในฐานะหน่วยงานกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย เล็งเห็นความสำคัญของการเตรียมความพร้อม สิ่งสำคัญที่สำนักงาน คปภ. คำนึงถึงอยู่เสมอ คือ การกำหนดแนวนโยบาย การพัฒนาระบบงานต่างๆ และการพัฒนากฎระเบียบที่รองรับและสนับสนุนให้เกิดนวัตกรรมและการเปลี่ยนผ่านไปสู่ดิจิทัลควบคู่ไปกับการตระหนักถึงความต้องการจากทั้งภาคธุรกิจและสังคมอย่างรอบด้าน เพื่อสร้างสภาพแวดล้อมของอุตสาหกรรมประกันภัยในยุคดิจิทัล ให้มีความทันสมัย สอดรับกับความต้องการของผู้มีส่วนได้เสีย เกิดการแข่งขันในเชิงสร้างสรรค์ และประชาชนมั่นใจได้ว่าการทำธุรกรรมใดๆ กับบริษัทประกันภัยจะได้รับการดูแลให้มีความถูกต้อง ปลอดภัย และคำนึงถึงประโยชน์ของประชาชน” ดร.สุทธิพล กล่าวย้ำ

ข่าวเกี่ยวข้อง